

ระเบียบสามชั้ น: อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ โขงในระเบียบของภูมิภาคที่กำ ลัง เปลี่ยนแปลง
Abstract
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ โขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เป็นอนุภูมิภาคในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยเมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และสองมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน คือยูนนานและกวางสี การพัฒนาภูมิภาคใน แถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ โขงได้รับอิทธิพลจาก “ระเบียบ” ระเบียบนี้ถูกสร้างอย่างสลับ ซับซ้อนจากปัจจัยสามประการ คือจากประเทศมหาอำ นาจ ซึ่งได้แก่สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย จากโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน และ จากระเบียบระดับอนุภูมิภาคที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ใน GMS ระเบียบแต่ละอันมีคุณลักษณะและเป้าหมายที่แตกต่างกัน และถูกสร้างขึ้น โดยความสัมพันธ์เชิงอำ นาจสองชุดคือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบข้ามภูมิภาค กับความริเริ่มระดับภูมิภาค และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบระดับภูมิภาคและอนุ ภูมิภาคที่มีผลต่อสมาชิกของ GMS บทความนี้เสนอว่า ความสัมพันธ์เชิงอำ นาจเหล่านี้มี ลักษณะสามชั้นที่มีผลต่อภูมิรัฐศาสตร์ของ GMS ซึ่งระเบียบสามชั้นนี้ถูกสร้างจากการ แข่งขันกันระหว่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และชุดของอุดมการณ์ทาง เศรษฐกิจและการเมือง ระเบียบนี้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำ นาจและส่งผลต่อการพัฒนาการขนส่งในภูมิภาค ซึ่ง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ GMS และโครงการ GMS